เครื่องมือเผชิญเหตุ


เครื่องมือเผชิญเหตุถูกออกแบบสำหรับการพิทักษ์ผู้คน ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากกลไกและกระบวนการในการเผชิญเหตุที่วางแผนไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างเช่น การหลบภัยในสถานที่ที่ตนเองอยู่ในขณะเกิดเหตุ การอพยพ และกระบวนการที่เกี่ยวกับภาระรับผิดชอบที่มีต่อบุคคลากร

ภาระรับผิดชอบ
ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ องค์กรมีภาระที่จะต้องรับผิดชอบต่อบุคลากรทุกคนที่ประสบเหตุ ทั้งคนเจ็บ ผู้ที่ติดค้างหรือที่ถูกลอยแพ ด้วยการส่งหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเข้าช่วยเหลือ

แผนจัดการในภาวะวิกฤต
ประมวลวิธีดำเนินการเผชิญเหตุที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ สำหรับปกป้องผลประโยชน์ขององค์กร แผนจัดการในภาวะวิกฤต จะช่วยให้ทีมจัดการในภาวะวิกฤตสามารถรับมือกับเหตุพิบัติที่เกิดขึ้นได้อย่างมีแบบแผนและทันท่วงที

ทีมจัดการในภาวะวิกฤต
ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ในระดับบริหารที่ถูกมอบหมายให้ดำเนินงานตามขั้นตอนการเผชิญเหตุที่ระบุในแผนจัดการในภาวะวิกฤต โดยมุ่งเน้นที่จะประสานความอุตสาหะขององค์กรในการเผชิญเหตุ

ทีมประเมินความเสียหาย
ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่ได้คัดเลือกล่วงหน้า สำหรับไว้ติดต่อเมื่อเกิดเหตุ เพื่อมาประเมินความปลอดภัยของอาคารสถานที่และสิ่งที่อยู่ภายใน และให้ข้อแนะนำถึงความเป็นไปได้หรือระยะเวลาในการกลับเข้ามาใช้สถานที่ได้ใหม่

ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน
หรือในบางที่เรียกว่า ศูนย์บัญชาการในภาวะวิกฤต คือ สถานที่ หรือตัวเลือกของสถานที่หลายๆ แห่ง (ที่จะใช้เป็นศูนย์ ตามแต่ขนาดของภัยพิบัติ) ซึ่งถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ที่จะใช้ปฏิบัติการโดยทีมจัดการในภาวะวิกฤต สำหรับดำเนินการในภาวะฉุกเฉินและทำงานกลยุทธ์ฟื้นฟูไปด้วยกัน ในหลายองค์กร ใช้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเป็นสถานที่และบรรจุทีมงานที่ถูกมอบหมายให้ปฏิบัติตามข้อตัดสินใจของทีมจัดการในภาวะวิกฤต โดยการจัดสรรทรัพยากรและสารสนเทศไปยังส่วนที่สำคัญที่สุดขององค์กร

แผนเผชิญภาวะฉุกเฉิน
เป็นแผนที่มุ่งเน้นการประกันความปลอดภัยของบุคลากร รวมทั้งขั้นตอนการอพยพ ภาระรับผิดชอบต่อบุคลากร ขั้นตอนการหลบภัยในสถานที่ที่ตนเองอยู่ในขณะเกิดเหตุ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง