การหารือและผลักดันนโยบายรัฐ


ระยะที่ 1: การช่วยเหลือ

การแจ้งองค์กรอื่น
ให้แน่ใจว่าผู้นำธุรกิจในองค์กรอื่น ได้รับการแจ้งข่าวเกี่ยวกับภัยพิบัติ และการเข้ามีส่วนร่วมช่วยเหลือในเหตุภัยพิบัติ

การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย
หาเวลาในการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้เสีย (ภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน) ถึงบทบาททางสังคมที่ธุรกิจและผู้นำธุรกิจ สามารถนำการสนับสนุนที่จำเป็นมาให้ สำหรับการช่วยเหลือในระยะดังกล่าว

--------------------------

ระยะที่ 2: การบรรเทาทุกข์

สื่อกลางและการสื่อสาร
ดำเนินการเน้นย้ำการสนับสนุนที่จำเป็นในพื้นที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง ใช้สื่อเผยแพร่และสื่อมวลชนในการทำให้เรื่องภัยพิบัติอยู่ในความสนใจ รวมทั้งสื่อสารให้เกิดแรงบันดาลใจต่อการดำเนินงานขององค์กรอื่นๆ

ขยายการดึงดูดเม็ดเงินกองทุน
เข้าร่วมกับหน่วยงานรัฐหรือองค์กรหาทุนอื่นๆ ในการกระตุ้นให้เกิดการสนับสนุนด้านการเงิน

--------------------------

ระยะที่ 3: การฟื้นฟู

การตลาดเพื่อฟื้นอุปสงค์
แม้จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี หากจะมีข้อเสนอแนะในห้วงเวลาที่ความรู้สึกสูญเสียเพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญในโอกาสแรกเริ่มที่ผู้นำในภาคอุตสาหกรรมจะร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรระหว่างประเทศที่จะให้ความตระหนักถึงความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการรักษากิจกรรมที่มีอยู่ในระยะสั้นและการทำตลาดเพื่อฟื้นอุปสงค์ใหม่ๆ ในพื้นที่กับบริษัทนำเที่ยว นักลงทุน สำนักงานท่องเที่ยว และสื่อมวลชน โดยโอกาสหนึ่งในการฟื้นฟูจะมาจากการทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ยังมีความอ่อนไหวสูงต่อความเสี่ยงต่างๆ

สื่อ
สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บริษัทจะใช้บทบาทการโน้มน้าวเพื่อให้แน่ใจว่าการรายงานข่าวในสื่อมีความแม่นยำ สมดุล ไม่นำเสนอเรื่องราวภัยพิบัติในแง่ลบจนผลักไสนักลงทุนและผู้มาเยือนให้จากไป ขณะที่ ด้านบวกของการฟื้นฟู การบริการ และการอนุรักษ์ ต้องได้รับการสื่อความออกไปอย่างมีประสิทธิผล

สมาคมการค้า
ผู้นำในภาคอุตสาหกรรมควรสร้างให้เกิดความมั่นใจว่า สมาคมการค้าของตนได้มีบทบาทในการฟื้นฟู การซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน และการบูรณะอย่างมีกลยุทธ์และมีประสิทธิผล รวมทั้งการจัดหาน้ำและการสุขาภิบาลที่สะอาดปลอดภัย ตลอดจนการช่วยอำนวยให้เกิดการมีส่วนร่วมข้ามอุตสาหกรรม

แนวร่วมการทำงาน
ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ (ซึ่งโดยสภาพจะมีความสำคัญ ถึงพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐาน และศักยภาพทางโลจิสติกส์) สามารถดำรงบทบาทหลักในการระบุตัวคู่ค้าทางธุรกิจที่จะทำงานเป็นแนวร่วมในรูปของคณะทำงานประสานงานเฉพาะกิจด้านธุรกิจของผู้ให้การสนับสนุน โดยมีจุดมุ่งหมายในการจัดการกับความท้าทายของการพัฒนาในระยะยาว ด้วยการใช้ทักษะการจัดการธุรกิจภาคปฏิบัติ ในช่วงการตื่นตัวต่อภัยพิบัติ กลยุทธ์ทางธุรกิจสามารถเติมเต็มการดำเนินงานของภาครัฐ ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนธุรกิจในสาขาอาหารและเครื่องดื่ม การขนส่ง การสื่อสาร และบริการทางการเงิน ยังสามารถเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกับอุตสาหกรรมในท้องถิ่นภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าว ขณะที่บริษัทหลายแห่งสามารถขอรับความช่วยเหลือจากสำนักงานใหญ่ระหว่างประเทศ

การหารือระดับนานาชาติ
เข้าร่วมในการหารือระดับโลกในประเด็นที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อเพื่อการบูรณะ และระบบการจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น

การลงทุนจากต่างประเทศ
ให้การช่วยเหลือรัฐบาลและหน่วยงานอื่นของรัฐในการดึงและรักษาเม็ดเงินลงทุนจากในและต่างประเทศ

ความช่วยเหลือ
ผลักดันการเพิ่มความช่วยเหลือให้แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ

การค้า
ผลักดันให้มีการปรับปรุงช่องทางการส่งออกของประเทศที่ได้รับผลกระทบไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น OECD

กรณีศึกษาของธุรกิจที่สร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
การฟื้นฟูและปกป้องชุมชนที่อ่อนไหวเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และถือเป็นความท้าทายหลักในการพิสูจน์ผลสำเร็จของธุรกิจทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ ที่มีต่อการเข้าร่วมดำเนินความช่วยเหลือท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชื่อมั่น และความรับผิดชอบต่อสังคมในโลกแห่งการมองในแง่ลบ เหตุการณ์ร้ายแรงจากภัยพิบัติอาจจะบรรเทาเบาบางลงได้หากภาคเอกชนลุกขึ้นมาเผชิญกับการท้าทายดังกล่าว

การคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน
สร้าง บำรุงรักษา และหมั่นตรวจตราความเป็นหุ้นส่วนที่บริษัทมีอยู่ เพื่อที่การจัดการภัยพิบัติจะมีความสอดคล้องต่อเนื่องนับตั้งแต่ระยะของการช่วยเหลือไปจนสู่ระยะของการฟื้นฟู